- จัดตั้งสมาคมวิชาการหรือองค์กรที่รวบรวมนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญด้านชีวสารสนเทศจากสถาบันต่าง ๆ ทั่วประเทศ
- สร้างช่องทางสื่อสารและความร่วมมือระหว่างนักวิจัย เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์
- พัฒนาเครือข่ายให้เป็นศูนย์กลางการทำงานร่วมกันในระดับชาติและนานาชาติ
- สนับสนุนการแบ่งปันข้อมูล ทรัพยากร และเครื่องมือวิจัยระหว่างนักวิจัยและสถาบันต่าง ๆ ภายในประเทศ
- สร้างระบบการทำงานร่วมกันที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดความซ้ำซ้อนในการวิจัย
- ส่งเสริมการวิจัยแบบสหสาขาวิชาชีพ (interdisciplinary research) เพื่อแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน
- ศึกษาและเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาระบบนิเวศการวิจัย เช่น การบริหารจัดการข้อมูล การสนับสนุนทุนวิจัย และการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศ
- ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกรอบจริยธรรมในการใช้ข้อมูลมนุษย์ และการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาด้านชีวสารสนเทศ
- สนับสนุนการวางโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการวิจัยชีวสารสนเทศในประเทศไทย
- จัดกิจกรรมและโครงการที่ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างเครือข่ายนักวิจัยกับภาครัฐและภาคอุตสาหกรรม
- มุ่งเน้นการสร้างผลกระทบเชิงเศรษฐกิจผ่านการพัฒนานวัตกรรมในด้าน precision medicine และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
- สนับสนุนการนำผลวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ