การพัฒนากำลังคนด้านชีวสารสนเทศในประเทศไทยได้รับแรงกดดันจากโครงการ Genomic Thailand ที่มีการจัดทำการ sequencing genome ของคนไทยจำนวน 50,000 ราย ทำให้ประเทศไทยมีฐานข้อมูล genomic ที่ใหญ่ที่สุด นักชีวสารสนเทศมีบทบาทสำคัญในการใช้ข้อมูลนี้อย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนาเทคนิคการวิเคราะห์ และบูรณาการกับนักวิจัยทางการแพทย์ เพื่อเข้าสู่ยุค precision medicine ความท้าทายที่เกิดขึ้นคือการพัฒนาเทคโนโลยีให้ทันสมัย เพื่อหลีกเลี่ยงการนำเข้าผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ที่มีราคาสูง และลดความเสี่ยงต่อภาระต้นทุนสุขภาพที่สูงขึ้นของประชากร ในขณะเดียวกันยังเป็นโอกาสในการสร้างนวัตกรรมทางการแพทย์ที่เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ นักชีวสารสนเทศยังมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีด้านเกษตรและอาหาร ซึ่งเป็นโอกาสสำคัญของประเทศไทยที่มีความได้เปรียบด้านห่วงโซ่อุปทานและความชำนาญของผู้ประกอบการในระดับสากล การบูรณาการเทคโนโลยีด้าน genomics กับเกษตรและอาหารย่อมส่งผลเชิงบวกต่อเศรษฐกิจไทยได้อย่างรวดเร็ว
การสร้างนักชีวสารสนเทศที่มีความชำนาญและเพียงพอต่อการสร้างนวัตกรรมบนฐานข้อมูลชีวสารสนเทศของประเทศยังเป็นเรื่องท้าทาย ชีวสารสนเทศเป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์ การรวมผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขามาสอนนักศึกษา ไม่สามารถยืนยันความสามารถในการนำไปบูรณาการกับอาชีพได้ นอกเหนือจากความรู้ทางเทคนิค การสร้างระบบนิเวศน์ที่เหมาะสมต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย การผลักดันเชิงนโยบายต่อหน่วยงานภาครัฐ และการสร้างมาตรฐานการเรียนการสอนต่อนักชีวสารสนเทศรุ่นใหม่เป็นสิ่งสำคัญ การจัดตั้ง TBRN มาจากความตั้งใจของกลุ่มนักวิจัยในสาขาชีวสารสนเทศจากหลายมหาวิทยาลัย เพื่อรวบรวมนักชีวสารสนเทศในประเทศ สร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกัน และได้รับการสนับสนุนจากที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยและ สกสว เพื่อเร่งการพัฒนาเชิงเทคนิคและสร้างระบบนิเวศน์การทำงานที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจของประเทศอย่างเป็นรูปธรรม